5 อันดับผักไทยสุดฮิตพิชิตตลาดจีน

จีนมาไทยเพื่อทำธุรกิจได้ ทำไมบ้านเราเมืองเราจะบุกตลาดจีนไม่ได้?

จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการส่งออกผักจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน พบว่า คนจีนนิยมออเดอร์ผักสดจากบ้านเราไปจำหน่ายเพียบ แต่สงสัยไหมคะว่าอะไรที่ฮิตบ้างไปดูกันเลยค่ะ              

  1. ต้นหอม : ขาดไม่ได้ทั้งการเป็นผักหลัก ผักเคียงหรือผักสำหรับตกแต่ง ด้วยเหตุผลว่า ใบสีเขียวสด กรอบ หอม ใช้คู่กับเนื้อสัตว์และบะหมี่ถือว่าเข้ากันสุดๆ
  2. พริกสด : ซึ่งประเทศไทยมียอดส่งออกพุ่งถึง 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 708% โดยจีนและมาเลเซียเป็นตลาดหลักของเราค่ะ
  3. ข้าวโพดฝักอ่อน : มีมูลค่าส่งออกประมาณ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13% โดยญี่ปุ่นและสิงคโปร์เป็นตลาดหลัก
  4. ผักกาดฮ่องเต้ : นับว่าเป็นผักใบเขียวที่นิยมในอาหารจีนมากมาย และเชื่อว่าพอหลายคนคิดถึงเมนูจีนที่มีผักสีเขียวอยู่ด้วย ผักชนิดนี้ต้องลอยมาในความคิด โดยเฉพาะเมนูกลุ่มผัดน้ำมันหอย และซุป
  5. ผักบุ้ง : เป็นสินค้าตัวเด็ดของ KC Fresh มาตลอด เพราะเราเป็นผักปลอดภัยที่เคร่งในเรื่องมาตรฐานมากไม่แพ้ผักชนิดไหนที่ตำหน่าย โดยผักบุ้งนั้นคนจีนเลิฟมากที่จะนำมาผัดไฟแดงกินได้ทั้งข้าวต้มและข้าวสวย
  6. มะระ : ใช้ในอาหารจีนอย่างการนำไป ผัดกับหมู ทำ ซุป และชาสมุนไพร
  7. ผักกาดขาว : ถ้าคิดว่าคนเกาหลีชอบใช้ผักกาดขาวในการทำกิมจิ ขอบอกว่าคนจีนก็นิยมเช่นกัน แม้จะไม่ได้ทำกิมจิ แต่ก็นิยมมากในร้านอาหารทุกระดับ เพราะใช้ในอาหารจีนหลากหลายเมนูค่ะ
  8. ผักชี : เป็นผักที่คนจีนออเดอร์มาหนักไม่แพ้ผักชนิดไหน เพราะจีนเองผลิตได้ไม่พอ โดยเฉพาะฤดูหนาว โดยคนจีนใช้ผักชีในอาหารหลากหลาย เช่น ต้มซุป หม้อไฟ อาหารจานผัด ผักสด
  9. กะเพรา : ใบกะเพราไทยมีเอกลักษณ์เรื่องกลิ่นหอมเผ็ดร้อน นอกจากจะเป็นที่นิยมในร้านอาหารไทยแล้ว คนจีนที่ทำอาหารสไตล์เอเชียชอบกันมากๆ จึงออเดอร์มาทั้งแบบสดและแช่แข็ง
  10. โหระพา : อย่าเพิ่งคิดว่ากลิ่นแบบนี้คนจีนจะชอบเหรอ บอกเลยว่าชอบมาก เพราะคนจีนเป็นชาติที่นิยมกลิ่นหอมของสมุนไพรไม่แพ้ใคร โดยโหระพาที่ว่านี้ขาดไม่ได้เด็ดขาดใน ซุป ต้ม และหม้อไฟ

ทั้งนี้ ผักทุกชนิดที่นำส่งจากประเทศไทยไปจีน ไม่เพียงผ่านมาตรฐานของบ้านเราเองเท่านั้น แต่ต้องผ่านมาตรฐานการนำเข้าผักของจีนจากประเทศไทยด้วย นั่นคือ ผักจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) โดยสินค้าต้องได้รับการตรวจสอบและออกใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตรของไทย เพื่อยืนยันว่าไม่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืชที่เป็นอันตราย

นอกจากนี้ยังต้องมีการควบคุมสารตกค้างและโลหะหนัก เพราะจีนมีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณสารตกค้าง เช่น สารหนู ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม รวมถึงสารกำจัดศัตรูพืช เช่น ฟอสไฟด์ และไซยาไนด์ ค่ะ