โรงงานคัดบรรจุผักและผลไม้สดของบริษัท เค.ซี.เฟรช จำกัด ให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัย ความสด และความสะอาดของสินค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง จึงนำระบบความปลอดภัยทางด้านอาหารมาใช้กับกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้สดนั้นผ่านการประกันคุณภาพได้มาตรฐานตามข้อกำหนดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ GHP (Good Hygiene Practice), HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) และระบบ BRC (The British Retail Consortium) ซึ่งบริษัท เค.ซี.เฟรช จำกัด ได้นำมาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต ตรวจสอบคุณภาพและวิเคราะห์อันตรายในสินค้าจนมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยก่อนที่จะมีการจัดจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ
ทั้งนี้ ทุกระบบมีการวางแผนและดำเนินการควบคู่ไปกับนโยบายการบริหารจัดการแรงงานให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงานท้องถิ่นและกฎหมายของประเทศคู่ค้า ได้แก่ การนำข้อกำหนดด้านแรงงานและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่าง ETI Base Code (ETI : Ethical Trading Initiative) ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐาน SMETA SEDEX มาปฏิบัติใช้อย่างเคร่งครัด
Good Hygiene Practice หรือ GHP หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมกระบวนการผลิตตลอดจนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จัดทำขึ้นโดยองค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ โคเด็กซ์ (CODEX) เพื่อให้สมาชิกทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่ง GHP เป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยมีเนื้อหาคลอบคลุม 6 ประการ ดังนี้
Hazard Analysis and Critical Control Point หรือ HACCP เป็นระบบการจัดการและประกันคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยถือเป็นมาตรฐานสากลตามข้อกําหนดของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/ WHO (Codex Alimentarius Commission) ที่ประเทศต่าง ๆ สามารถนําแนวทางไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
หลักการของระบบ HACCP ครอบคลุมถึงการป้องกันปัญหาจากอันตราย 3 สาเหตุ คือ
เดิมทีมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารจัดทำขึ้นโดย The British Retail Consortium (BRC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เพื่อให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารนำไปปฏิบัติ โดย BRC เกิดจากการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร อาทิ Tesco, Sainsbury’s, Iceland Foods, Waitrose, Safeway, The Co-operative Group, Asda Stores โดยจัดทำระบบมาตรฐาน BRC ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพความปลอดภัยในกระบวนการผลิตอาหาร รวมทั้งมีวิธีการติดตามและวัดผลที่ครอบคลุมข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่มีการปฏิบัติที่สอดคล้องตามกฎหมาย ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ระบบ HACCP, ระบบบริหารคุณภาพ, มาตรฐานการควบคุมสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการ, การควบคุมผลิตภัณฑ์, การควบคุมกระบวนการ, และบุคลากร โดย BRC จะช่วยลดการซ้ำซ้อนจากการตรวจประเมินสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าให้กับองค์กรค้าปลีกในสหราชอาณาจักรและสามารถตรวจประเมินได้โดยบุคคลที่สาม
มาใน ปี พ.ศ. 2562 BRC issue 8 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก British Retail Consortium (BRC) มาเป็น Brand Reputation through Compliance Global Standard (BRCGS) เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยขึ้นอีกขั้น โดยทำการผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้การจัดการและควบคุมป้องกันให้มีความปลอดภัยต่อการบริโภคเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ คือปลอดภัยจากอันตรายทางกายภาพ อันตรายทางชีวภาพ อันตรายทางเคมี รวมถึงสารกัมมันตรังสีและสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ซึ่งครอบคลุมอันตรายทั้งที่ปนเปื้อนโดยเจตนาและไม่เจตนา เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและความปลอดภัยต่อการบริโภค รวมถึงช่วยให้ผู้ผลิตสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์
SMETA หรือที่มักจะเรียกกันว่า SEDEX (The Supplier Ethical Data Exchange) เป็นองค์กรที่มาจากการรวมกลุ่มสมาชิกทางธุรกิจทั่วโลกที่มีข้อตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาจริยธรรมของกลุ่มสมาชิกผู้จัดจำหน่าย ภายใต้หลักการดูแลจัดการทั้ง 4 ด้านได้แก่ มาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน จริยธรรมทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยการตรวจประเมินจะอิงจากข้อกำหนดพื้นฐานด้านจรรยาบรรณทางการค้าหรือ ETI Base Code (Ethical Trading Initiative) ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างมีจริยธรรมทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะในบริษัทของตนเองเท่านั้นแต่ต้องรวมไปถึงผู้ที่จัดจำหน่ายสินค้าให้กับทางบริษัทด้วย
The ETI Base Code ประกอบไปด้วยข้อกำหนดขั้นพื้นฐานดังนี้