"ผัก" กับ "โพแทสเซียม" คนเป็นโรคไตต้องดูแล

“คนเป็นโรคไตต้องกินจืด ต้องลดเค็ม” พอได้ยินแบบนี้ หลายคนอาจคิดว่า เมนูปลอดภัยต้องเป็นผักสินะ คงต้องบอกว่าใช่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยโรคไตกินผักได้ แต่เพียงบางกลุ่มเท่านั้น เพราะมีผักบางชนิดที่ต้องระวังในการบริโภค นั่นคือ ผักที่มีโพแทสเซียมสูง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน (Hyperkalemia) ทำให้ไตต้องรับภาระหนักในการขับแร่ธาตุชนิดนี้ โดยผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 ไม่ควรได้รับโพแทสเซียมเกิน 1,500 มิลลิกรัม ต่อวัน (หรือผู้ป่วยมีค่าโพแทสเซียมในเลือดสูง) 

แล้วผักอะไรบ้างที่กินได้ และกินไม่ได้?

ก่อนจะไปรู้ว่า ผักและผลไม้ชนิดไหนที่คนเป็นโรคไตกินได้บ้าง KC Fresh อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า แม้จะเป็นโรคไตที่ต้องระวังเรื่องการกิน แต่นี่ไม่ใช่การอดอาหารโดยเด็ดขาดซึ่งข้อมูลจากฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยควรเลือกบริโภคผักและผลไม้ให้เหมาะสมทั้งเรื่องชนิดและปริมาณ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณโพแทสเซียมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อโรค

ผักที่กินได้ คือ ผักในกลุ่มสีเขียวอ่อนหรือสีขาว จะเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ และควรนำไปต้มให้สุกหรือทำให้สุกก่อนเสมอ เพื่อให้ความร้อนช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมในผักอีกทางหนึ่ง โดยแบ่งได้ดังนี้

ทั้งนี้ นอกจากเรื่องของปริมาณโพแทสเซียมที่ต้องระวังแล้ว ยังต้องดูแลและควบคุมปริมาณการกินอาหารที่มีสารอาหารบางประเภทเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  1. อาหารที่ให้โปรตีน > ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตในระยะ 1-2 สามารถกินได้ตามปกติ แต่ควรเน้นเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หากเป็นในระยะที่ 3-4-5 จะต้องจำกัดโปรตีน โดยเน้นกินโปรตีนคุณภาพดีเช่น ไข่ดาว ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และไม่ว่าจะเป็นโปรตีนประเภทใด ให้ซื้อมาเป็นเนื้อสดแล้วปรุงกินเอง ห้ามกินชนิดแปรรูปหรือแช่แข็งโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นโปรตีนที่ผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อไต
  2. โซเดียม > เกลือมีปริมาณโซเดียมสูงมากๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องงดเว้นโดยเด็ดขาด และหากต้องการเพิ่มความเค็ม ขอให้เปลี่ยมาใช้ซีอิ๊วขาว หรือ น้ำปลา ในปริมาณ 1 ช้อนชา หากอยากใช้เป็นซอสหอยนางรม สามารถใช้ได้ แต่ใช้เพียง 1 ช้อนโต๊ะต่อมื้อเท่านั้น ทั้งนี้รวมถึงให้เลี่ยงการกินอาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงในการเก็บถนอมอาหาร เช่น ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม หมูหยอง ผักดอง หัวไชโป๊ เป็นต้น
  3. นมเนยที่มีฟอสฟอรัสก็ต้องจำกัด > โดยไม่ควรกินเกิน 800 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจะจำกัดในผู้ป่วยระยะที่ 3- 4 – 5 ดังนั้นควรเลี่ยงการกินนมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด รวมถึงช็อคโกแลต  ไข่แดง (ไข่ขาวกินได้) ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด เต้าหู้ถั่วเหลือง
  4. ข้าวขาวคือสิ่งที่ปลอดภัย > ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินข้าวได้ปกติ แต่ให้เลี่ยงข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี โดยกินแป้งแบบปลอดโปรตีนแทน เช่น เส้นเซี่ยงไฮ้ ข้าวหอมมะลิสีขาว เส้นหมี่ เส้นใหญ่)

 

อาจจะดูว่ายาก และขัดต่อความรู้สึและความเคยชินที่การใช้ชีวิตที่ผ่านมา แต่เพื่อสุขภาพที่ดี ผู้ป่วยโรคไตไม่ว่าจะอยู่ในระยะไหน ควรดูแลตัวเองและเข้มงวดต่อการกินเสมอ เพื่อให้ไตกลับมามีคุณภาพที่ดี ซึ่งจะส่งผลถึงสุขภาพโดยรวมของร่างกายที่จะดีตามไปด้วย

และที่สำคัญ หากคุณรู้ตัวว่าเป็นโรคไต หรือมีคนที่รู้จักเป็นโรคนี้ ขอให้ไปรับคำปรึกษาจากนักโภชนาการก่อนจัดเมนูอาหารเสมอนะคะ เพราะนักโภชนาการจะมีความรู้ที่ถูกต้องและช่วยดูแลเรื่องนี้ได้อย่างแม่นยำค่ะ

สู้ๆ นะคะทุกคน

   

ข้อมูล : http://www.siphhospital.com/, https://vibhavadi.com/, https://www.honestdocs.co/