รู้ไว้ไม่อายใคร อะไรคือ “พลาสติกแรป” ?

ใช้พริกหวานไปแค่ครึ่งเดียวต้องหาพลาสติกมาแรป ใช้กะหล่ำปลีไม่หมดหัวก็ต้องใช้พลาสติกมาแรป หรือแม้แต่อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว แต่ยังไม่อยากกินก็ใช้พลาสติกมาแรป ฯลฯ

เห็นไหมคะว่า พลาสติกแรป มีบทบาทกับชีวิตของเรามากขนาดไหน ซึ่ง KC Fresh เชื่อเหลือเกินว่า แทบทุกคนต้องรู้จัก “พลาสติกแรป” ที่ใช้ในการห่อหุ้มอาหารเพื่อช่วยเก็บรักษาอาหารตามที่เราได้ยกตัวอย่างไป แต่จะมีกี่คนที่รู้จัก พลาสติกแรป แบบจริงจัง เพราะไม่ใช่ว่าพลาสติกแรปแบบไหนก็เหมือนกัน งั้นวันนี้มาเริ่มทำความรู้จักพลาสติกแรปกันก่อนเลือกมาใช้งานนะคะ

พลาสติกแรป (Plastic Wrap) เป็นฟิล์มพลาสติกบางใสที่ใช้สำหรับห่อหุ้มอาหารเพื่อช่วยเก็บรักษาอาหารให้คงความสดเป็นเวลานานขึ้น โดยชนิดของพลาสติกแรป จัดอยู่ในกลุ่มฟิล์มแบบยืด มีจุดเด่นที่ความยืดหยุ่นมากกว่าฟิล์มแบบหดที่จะหดตัวห่อหุ้มสิ่งต่างๆ ก็เมื่อได้รับความร้อน

คุณสมบัติของฟิล์มแบบยืด คือ ความเหนียวและสามารถยืดตัวได้สูง โดยฟิล์มชนิดนี้จะสามารถเกาะติดกันเองได้ เมื่อดึงฟิล์มให้ตึงหรือยืดฟิล์มออกเล็กน้อย ฟิล์มจะมีลักษณะคล้ายมีกาวบางๆ อยู่ด้านใน ทำให้สะดวกในการใช้ห่อหรือรัดสินค้า และเนื่องจากฟิล์มประเภทนี้ไม่มีความร้อนมาเกี่ยวข้อง จึงเหมาะที่จะนำมาห่อสินค้าสด เช่น ผักหรือผลไม้อย่างมาก

จุดเด่นอีกอย่างหนุ่งของฟิล์มแบบยืดคือเมื่อพันกันหรือนำไปห่อหุ้มสิ่งใดก็ตามจะไม่ทิ้งคราบเหนียวไว้ และยังมีการต้านทานแรงดึง รวมไปถึงอัตราการซึมผ่านของไอน้ำและอากาศที่ได้รับการคิดค้นมาแล้ว จึงช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นในวัตถุดิบที่มีความสดให้ช้าลง ทั้งยังทนต่อสภาวะอากาศที่ไม่ว่าจะร้อนหรือเย็นได้ พร้อมกับช่วยลดแรงกระแทก หากพันฟิล์มหลายชั้น

ฟิล์มแบบยืด นิยมทำมาจากพลาสติก 3 ประเภท ต่อไปนี้

  1. ฟิล์มแบบยืดที่ผลิตจากพลาสติก PE หรือ โพลีเอลีน (Polyethylene) มีคุณสมบัติที่ให้ไอ น้ำซึมผ่านได้น้อย แต่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ดี เหมะกับการนำมาใช้ห่อผัก ผลไม้สด
  2. ฟิล์มแบบยืดที่ผลิตจากพลาสติก PVC หรือ โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinychloride) มีคุณสมบัติที่ยอมให้ไอน้ำและออกชิเจนไหลผ่านได้ จึงเหมาสำหรับใช้บรรจุอาหารสดเพื่อช่วยรักษาความสดของอาหาร เช่น เนื้อสัตว์และปลา เป็นต้น
  3. ฟิล์มแบบยืดที่ผลิตจากพลาสติก PVDC หรือ โพลีไวนิลิดีนคลอไรด์ (Polyvinyidenechloride) มีคุณสมบัติเหมือนกับฟิล์มแบบยืดที่ผลิตจาก PVC แต่ทนความร้อนได้มากกว่า

ทั้งนี้ ฟิล์มแบบยืดที่ใช้ถนอมอาหารจะต้องมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 1136-2536 เรื่องฟิล์มหดหุ้มห่ออาหาร โดยจะต้องผลิตจากพลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งจากสองชนิด ได้แก่ PVDC หรือ โพลีไวนิลิดีนคลอไรด์  และ PE หรือ โพลีเอลีน เนื่องจากในกระบวนการผลิตฟิล์มยืดหุ้มห่อหรือถนอมอาหารจะต้องมีการเติมสารเติมแต่งชนิดต่างๆ ลงไปเพื่อช่วยให้ฟิล์มแบบยืดมีสมบัติตามต้องการ

ผู้บริโภคจึงควรตระหนักถึงภัยของสารปนเปื้อนในฟิล์มแบบยืดถนอมอาหาร โดยเลือกซื้อฟิล์มยึดถนอมอาหารที่ได้มาตรฐาน และนำมาใช้งานอย่างถูกวิธีก็จะช่วยป้องกันอันตรายจากสารปนเปื้อนได้