ห้ามพลาด! 5 อาหาร มี LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกให้ร่างกาย

เคยได้ยินคำว่า “LPR” มาสักพักใหญ่ๆ แต่รู้ไหมคะว่า ยังมีอีกชื่อเรียก คือ “LGG”  ที่ย่อมาจาก แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส (Lactobacillus rhamnosus GG.) โดย LPR หรือ LGG คือ จุลินทรีย์มีประโยชน์ในนาม “โพรไบโอติก”  ที่กินเข้าไปแล้วให้ประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น...

ลดการเจ็บป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก

มีงานวิจัยพบว่า จุลินทรีย์ LPR โพรไบโอติก มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นไข้หวัด น้ำมูกไหล โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ หรือเด็กๆ ในวัยอนุบาลที่เริ่มไปโรงเรียนถึง 37%

ส่งเสริมการทำงานของสมอง

จุลินทรีย์ LPR โพรไบโอติก ช่วยรักษาสมดุลในลำไส้และช่วยย่อยทริปโตแฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด พฤติกรรม และอารมณ์ ช่วยให้รู้สึกมีความสุข คลายเครียด นอนหลับได้ง่าย

ปกป้องเยื่อบุลำไส้ 

จากการศึกษาพบว่า LPR โพรไบโอติก มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่  (อ้างอิง : https://health.kapook.com/)

แล้วเราจะเจอ จุลินทรีย์ LPR โพรไบโอติก ได้จากที่ไหน?

คำตอบคือ นมแม่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว แต่ในผักผลไม้บางชนิดก็มีนะคะ

หัวหอม นอกจากมีพรีไบโอติกส์ที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายแล้ว ยังเต็มไปด้วยโอลิโกฟรุคโตส แหล่งอินนูลินตามธรรมชาติ วิตามินซีและเควอซิติน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดความหิว และป้องกันโรคหัวใจ

หน่อไม้ฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยโพแทสเซียม โฟเลตและวิตามินบีอื่นๆ ที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ พรีไบโอติก ที่หน่อไม้ฝรั่งมีให้มากมาย แต่ควรปรุงให้สุกแบบพอดีๆ เพื่อป้องกันสารอาหารสลายไปกับความร้อน

เห็ด เรียกได้ว่า ทุกชนิดของเห็ดเลยก็ว่าได้ แต่ที่เด็ดสุดคือ “เห็ดหอม” ที่เต็มได้ด้วยพรีไบโอติกที่จำเป็นต่อร่างกายที่เรียกว่า เบต้ากลูแคน มีคุณสมบัติช่วยในการรักษา ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

กระเทียม ช่วยเสริมสร้างลำไส้ให้แข็งแรง และมีเส้นใย “อินนูลิน”  ช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้เพิ่มปริมาณมากขึ้น ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุโรคท้องร่วง

แอปเปิ้ล มีเส้นใยผลไม้ธรรมชาติที่พบในเปลือก ช่วยให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้เจริญเติบโตขึ้น และในเนื้อแอปเปิ้ลยังเป็นแหล่งของอินนูลินและฟรุกโตลิโกแซ็กคาไรด์ช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอล และช่วยปกป้องจากโรคหัวใจ