รู้เรื่อง พรี และ โพร “ไบโอติก” ก่อนเลือกกิน

วันนี้ KC Fresh ขอนำเรื่องราวของคำสองคำที่มีผลต่อการเลือกกินผักและผลไม้ในยุคนี้มาบอกเล่า เป็นเรื่องของตัวตึงตัวเด็ดที่แฝงในอาหารหลายชนิด นั่นก็คือ โพรไบโอติก (Probiotic) และ พรีไบโอติก (Prebiotic)

หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าก่อนว่า ทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติกนี้ อยู่ในร่างกายของเรานี่ล่ะค่ะ เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยบำรุงให้สุขภาพแข็งแรง และแม้ว่าจะมีชื่อใกล้กันมากๆ แต่คุณสมบัติไม่เหมือนกัน แถมยังมีญาติชื่อใกล้ๆ กันอีกหนึ่งก็คือ “ซินไบโอติก (Synbiotic)” ที่หลังๆ เริ่มเข้ามาอยู่ในกระแสบ้างล่ะ แต่วันนี้ เรามาเน้นๆ ที่จุลินทรีย์สองชนิดเป็นหัวข้อกันก่อน

ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ โพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในลําไส้ เจอได้ในอาหารรสเปรี้ยว เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติก คือ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้”

แต่ พรีไบโอติก คือตัวเสริมความเจ๋งของโพรไบโอติก เพราะมันคือ อาหารของโพรไบโอติก ที่เมื่อกินพรีไบโอติกเข้าไปก็จะช่วยให้โพรไบโอติกทำงานได้ดีขึ้น โดยโพไบโอติกคืออาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลาย ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย

            ทีนี้มาดูกันหน่อยว่า โพรไบโอติก มีประโยชน์ประมาณไหน ทำไมใครๆ ก็รัก

  1. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ก็เลยเหมาะกับเมืองไทยที่โควิด-19 ยังไม่จางดี หวัดก็มีมาเป็นระลอก ไหนจะเชื้อโรคแปลกๆ ที่อาจกำเนิดใหม่ในอนาคตอีกเพียบ
  2. ช่วยเรื่องการย่อยอาหารให้ดีขึ้น แต่เท่านั้นยังไม่พอ ยังแสดงอิทธิฤทธิ์ในเรื่องการดูดซึมสารอาหารให้คล่องหนักกว่าเดิม
  3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังมากมาย ทั้งโรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคหัวใจ
  4. ความสามารถส่วนตัวอีกอย่างของโพรไบโอติกคือ การสังเคราะห์ วิตามิน กรดไขมัน และกรดอะมิโนที่จําเป็นต่างต่างที่ร่างกายสามารถนํากลับไปใช้ใหม่นั่นเอง

เห็นถึงประโยชน์ที่ดีแสนดีของโพรไบโอติกแล้วก็เข้าใจได้เลยว่า เราควรต้องช่วยให้โพรไบโอติกทำงานได้ดี ด้วยการเติมพรีไบโอติกส์ให้ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหนุนให้โพรไบโอติกทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยกินอาหารประเภทไฟเบอร์ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ส่วนมากพบในรูปแบบผลแป้ง เช่น สารกลุ่มอินูลินและฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ และพบมากในหัวหอมในกระเทียม กล้วย เห็ด หรือไม่ก็หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

ทิ้งท้ายกันลืมให้รู้จักกันนิดๆ สำหรับ ซินไบโอติก (Synbiotic) ซึ่งก็คือ การนำโพรไบโอติกและพรีไบโอติกผสานเข้าด้วยกันนั่นเอง แต่ผสานไปทำไม ไว้ KC Fresh จะมาเล่าให้รู้นะคะ

ส่วนบทสรุปว่าแล้วถ้าจะเลือกกินไบโอติกตัวไหนจะดีกว่า คำตอบคือ กินคู่ค่ะ เพราะทั้งสองตัวขาดกันไม่ได้ เราจึงสามารถกินอาหารที่มีทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติกควบคู่กันได้เลย เพราะคนที่รับประโยชน์สูงสุดคือ ลําไส้ของเรานั่นเอง